เมนู

เถระเชิญภิกษุอื่นบ้าง ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตปาฏิโมกข์ให้เป็นกิจมีพระเถระ
เป็นใหญ่.
ข้อว่า น กุกฺกุจฺจายิตพฺพํ กุกฺกุจฺจายติ มีความว่า ประพฤติ
รังเกียจ ทำสิ่งที่ไม่น่ารังเกียจ.
ข้อว่า กุกฺกุจฺจายิตพฺพํ น กุกฺกุจฺจายติ มีความว่า ภิกษุไม่
พระพฤติรังเกียจทำสิ่งที่น่ารังเกียจ. อธิบายว่า อาสวะทั้งหลายของภิกษุ 2
พวกนั่น ย่อมเพิ่มพูนทั้งกลางวันและกลางคืน.
เนื้อความแม้ในหมวด 2 อันเป็นลำดับไป พึงทราบด้วยอำนาจแห่ง
เนื้อความ ที่ตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.
บทที่เหลือ นับว่ามีเนื้อความชัดทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วใน
บทนั้น ๆ.
พรรณนาหมวด 2 จบ

[พรรณนาหมวด 3]


วินิจฉัยในหมวด 3 พึงทราบดังนี้:-
หลายบทว่า อตฺถาปตฺติ ติฏฺฐนฺเต ภควติ อาปชฺชติ มีความว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงอยู่ ภิกษุจึงต้องอาบัติใด อาบัตินั้นมีอยู่. มีนัย
เหมือนกันทุกบท.
บรรดาอาบัติเหล่านั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงอยู่ ภิกษุจึงต้อง
อาบัติ เพราะโลหิตุปบาท. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ภิกษุจึงต้อง
ยังทรงอยู่ไม่ต้องอาบัติ เพราะร้องเรียกพระเถระด้วยวาทะว่า อาวุโส เป็น

ปัจจัย เพราะพระบาลีว่า อานนท์ ก็บัดนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ย่อมร้องเรียก
กันและกัน ด้วยวาทะว่า อาวุโส โดยเวลาที่เราล่วงไปเสีย ท่านทั้งหลายไม่
พึงร้องเรียกกันและกันอย่างนั้น, อานนท์ ภิกษุผู้เถระอันภิกษุผู้ใหม่ พึง
ร้องเรียกด้วยวาทะว่า ภทนฺเต หรือว่า อายสฺมา ดังนี้.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงอยู่ก็ตาม ปรินิพพานแล้วก็ตาม เว้น
อาบัติ 2 เหล่านี้เสีย ภิกษุย่อมต้ออาบัติที่เหลือ.
เมื่อห้ามเสียแล้ว ฉันของเคี้ยวของฉันที่ไม่เป็นเดน ชื่อว่าต้องอาบัติ
ในกาล หาต้องในวิกาลไม่. แต่ย่อมต้องอาบัติเพราะวิกาลโภชน์ในวิกาล หา
ต้องในกาลไม่. ย่อมต้องอาบัติที่เหลือ ทั้งในกาลและวิกาล.
ในเวลากลางคืน ย่อมต้องอาบัติเพราะนอนในเรือนร่วมกัน, ในเวลา
กลางวัน ย่อมต้องอาบัติเพราะไม่ปิดประตูเร้นอยู่. ย่อมต้องอาบัติที่เหลือ
ทั้งกลางคืนและกลางวัน.
ภิกษุผู้พาล ไม่ฉลาด เมื่อให้บริษัทอุปัฏฐาก ด้วยคิดว่า เรามี
พรรษา 10 เรามีพรรษาเกิน 10 ผู้มีพรรษาครบ 10 ย่อมต้อง ผู้มีพรรษา
หย่อน 10 ไม่ต้อง.
ภิกษุใหม่หรือปูนกลาง เมื่อให้บริษัทอุปัฏฐาก ด้วยคิดว่า เราเป็น
บัณฑิต เราเป็นคนฉลาด ผู้มีพรรษาหย่อน 10 ย่อมต้อง ผู้มีพรรษาครบ 10
ไม่ต้อง.
ทั้งภิกษุผู้มีพรรษาครบ 10 ทั้งภิกษุผู้มีพรรษาหย่อน 10 ย่อมต้อง
อาบัติที่เหลือ.

ภิกษุผู้พาล ไม่ฉลาด เมื่อไม่ถือนิสัยอยู่ ด้วยคิดว่า เรามีพรรษา
ครบ 5 ผู้มีพรรษาครบ 5 ย่อมต้อง.
ภิกษุใหม่ไม่ถือนิสัยอยู่ ด้วยคิดว่า เราเป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาด
ผู้มีพรรษาหย่อน 5 ย่อมต้อง. ทั้งภิกษุผู้มีพรรษาครบ 5 ทั้งภิกษุผู้มีพรรษา
หย่อน 5 ย่อมต้องอาบัติที่เหลือ.
ภิกษุผู้มีจิตเป็นกุศล ย่อมต้องอาบัติเห็นปานนี้ คือ บอกธรรมกะ
อนุปสัมบันโดยบท, แสดงธรรมแก่มาตุคาม.
ภิกษุผู้มีจิตเป็นอกุศล ย่อมต้องอาบัติต่างโดยชนิด มีปาราชิก, สุกก-
วิสัฏฐิ, กายสังสัคคะ, ทุฏฐุลละ, อัตตกามปาริจริยา, ทุฏฐโทสะ, สังฆเภทะ,
ปหารทานะ, ตลสัตติกะ เป็นต้น.
ผู้มีจิตเป็นอัพยากฤต ย่อมต้องอาบัติ มีไม่แกล้งนอนในเรือนร่วมกัน
เป็นต้น. พระอรหันต์ย่อมต้องอาบัติใด ภิกษุผู้มีจิตเป็นอัพยากฤต ย่อมต้อง
อาบัตินั้นทั้งหมด.
ภิกษุผู้พร้อมเพรียงด้วยสุขเวทนา ย่อมต้องอาบัติต่างชนิดมีเมถุนธรรม
เป็นต้น.
ผู้พร้อมเพรียงด้วยทุกขเวทนา ย่อมต้องอาบัติต่างชนิดมีทุฏฐโทสะ
เป็นต้น.
ผู้พร้อมเพรียงด้วยสุขเวทนา ย่อมต้องอาบัติใด ภิกษุผู้มีตนมัธยัสถ์
(วางเฉย) เมื่อต้องอาบัตินั้นแล ชื่อว่าผู้พร้อมเพรียงด้วยอทุกขมสุขเวทนาต้อง
(อาบัติ).

ข้อว่า ตโย ปฏิกฺเขปา มีความว่า ข้อห้าม 3 อย่าง ของพระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้า คือ ความเป็นผู้มักมาก ความเป็นผู้ไม่สันโดษในปัจจัย 4
ความไม่รักษาข้อปฏิบัติอันขูดเกลากิเลส, ธรรม 3 อย่างเหล่านี้แล อันพระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทรงห้ามแล้ว.
ส่วนธรรม 3 อย่าง มีความเป็นผู้มักน้อยเป็นต้น อันพระผู้มีพระ-
ภาคพุทธเจ้าทรงอนุญาตแล้ว. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม 3 อย่าง
ทรงอนุญาต.
ภิกษุให้บริษัทอุปัฏฐาก ด้วยคิดว่า เรามีพรรษาครบ 10 ไม่ถือนิสัย
ด้วยคิดว่า เรามีพรรษาครบ 5 ผู้โง่เขลาต้อง ผู้ฉลาดไม่ต้อง.
ผู้มีพรรษาหย่อน 10 คิดว่า เราเป็นผู้ฉลาด เมื่อให้บริษัทอุปัฏฐาก
เพราะความเป็นพหุสุตบุคคล และผู้มีพรรษาหย่อน 5 ไม่ถือนิสัย ผู้ฉลาดต้อง
ผู้โง่เขลาไม่ต้อง.
ทั้งผู้ฉลาด ทั้งผู้โง่เขลา ย่อมต้องอาบัติที่เหลือ.
เมื่อไม่เข้าพรรษา ย่อมต้องในกาฬปักข์ ไม่ต้องในชุณหปักข์. เมื่อ
ไม่ปวารณาในวันมหาปวารณา ย่อมต้องในชุณหปักข์ ไม่ต้องในกาฬปักข์.
ย่อมต้องอาบัติที่เหลือทั้งในกาฬปักข์และชุณหปักข์.
การเข้าพรรษา ย่อมสำเร็จในกาฬปักข์ ไม่สำเร็จในชุณหปักข์.
ปวารณาในวันมหาปวารณา ย่อมสำเร็จ ในชุณหปักข์ ไม่สำเร็จใน
กาฬปักข์.
สังฆกิจที่ทรงอนุญาตที่เหลือ ย่อมสำเร็จทั้งในกาฬปักข์และชุณหปักข์.
ภิกษุนุ่งผ้าอาบน้ำฝนที่วิกัปป์เก็บไว้ในวันปาฏิบทหลัง แต่เพ็ญเดือน
กัตติกาหลัง ย่อมต้องในฤดูเหมันต์.

แต่ในกุรุนที กล่าวว่า ไม่ถอนในวันเพ็ญเดือนกัตติกาหลัง ย่อมต้อง
ในฤดูเหมันต์. คำในอรรถกถากุรุนทีแม้นั้นท่านกล่าวชอบ. เพราะพระผู้มี
พระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เราอนุญาตให้ภิกษุอธิษฐานตลอด 4 เดือน ต่อแต่
นั้นไป อนุญาตให้วิกัปป์
เมื่อฤดูร้อนยังเหลือกว่า 1 เดือน ภิกษุแสวงหา และเมื่อฤดูร้อนยัง
เหลือกว่ากึ่งเดือน ภิกษุทำนุ่ง ชื่อว่าย่อมต้องอาบัติในคิมหฤดู.
เมื่อมีผ้าอาบน้ำฝน แต่เปลือยกายอาบน้ำฝน ชื่อว่าย่อมต้องอาบัติใน
ฤดูฝน.
สงฆ์เมื่อทำปาริสุทธิอุโบสถหรืออธิษฐานอุโบสถ ย่อมต้องอาบัติ.
คณะเมื่อทำสุตตุทเทสและอธิฏฐานอุโบสถ ย่อมต้องอาบัติ.
ภิกษุผู้เดียว เมื่อทำสุตตุทเทส ย่อมต้องอาบัติ. แม้ในปวารณาก็
นัยนี้แล.
สังฆอุโบสถ และสังฆปวารณา ย่อมสำเร็จแก่สงฆ์เท่านั้น.
คณะอุโบสถ และคณะปวารณา ย่อมสำเร็จแก่คณะเท่านั้น.
อธิษฐานอุโบสถและอธิษฐานปวารณา ย่อมสำเร็จแก่บุคคลเท่านั้น.

[ว่าด้วยการปิด 3 อย่างเป็นต้น ]


เมื่อกล่าวคำว่า ข้าพเจ้าต้องปาราชิก เป็นต้น ชื่อว่าปิดวัตถุ ไม่ปิด
อาบัติ.
เมื่อกล่าวคำว่า ข้าพเจ้าได้เสพเมถุนธรรม เป็นต้น ชื่อว่าปิดอาบัติ
ไม่ปิดวัตถุ.